ต่อไปนี้เรามาดูขั้นตอนการขอจดสิทธิบัตรกันอย่างคร่าวๆ นะครับ ที่ต้องบอกว่าคร่าวๆ ก็เพราะว่า ถึงแม้เราจะเตรียมเอกสารไว้พร้อมเพียงใด บางกรณีการตีความของเรากับของเจ้าหน้าที่อาจคลาดเคลื่อนกัน เป็นผลให้เราต้องกลับมาเตรียมเอกสารใหม่อีกครั้งก็เป็นได้โดยเฉพาะข้อถือสิทธิที่บ่อยครั้งพบว่า นักประดิษฐ์เขียนไว้ครอบคลุมมากเกินไป พูดง่ายๆ ก็คือเกินจริงนั่นเองครับ
ขั้นตอนการจดสิทธิบัตร
การยื่นขอรับสิทธิบัตร-การประดิษฐ์ พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียม ซึ่งในคำขอต้องประกอบด้วย
– แบบพิมพ์คำขอรับสิทธิบัตร (แบบ สป/สผ/อสป/001-ก) ซึ่งมี 2 หน้า
– รายละเอียดการประดิษฐ์
– ข้อถือสิทธิ
– บทสรุปการประดิษฐ์
– รูปเขียน (ถ้ามี)
– เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี) เอกสารประกอบอันแสดงถึงสิทธิของผู้ขอ เช่น หนังสือโอนสิทธิสัญญาการว่าจ้าง หนังสือมอบอำนาจ เป็นต้น
– เมื่อยื่นคำขอตามข้อ 1 แล้ว ถ้ามีสิ่งบกพร่องที่พอจะแก้ไขได้จะแจ้งให้ผู้ขอหรือตัวแทนทราบ เพื่อปฏิบัติหรือแก้ไขตามคำสั่งในหนังสือแจ้งนั้นๆ
– ขอต้องใช้แบบ สป/สผ/อสป/003-ก ในการยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมพร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียม
– ในกรณีคำขอตามข้อ 1 ถูกต้องหรือได้แก้ไขถูกต้องตามข้อ 3 แล้วจะส่งหนังสือแจ้งให้ผู้ขอชำระค่าธรรมเนียมการประกาศโฆษณาในหนังสือจดหมายเหตุสิทธิบัตร
– เมื่อประกาศโฆษณาแล้ว ผู้ขอต้องยื่นขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์โดยใช้ (แบบ สป.003-ก) ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ประกาศโฆษณา
– ถ้าอธิบดีเห็นว่าคำขอถูกต้องตามกฎหมาย และสั่งให้รับจดทะเบียนสิทธิบัตร แล้วจะส่งหนังสือแจ้งให้ผู้ขอ มาชำระค่าธรรมเนียม
– เมื่อผู้ขอชำระค่าธรรมเนียมตามข้อ 1.6 แล้วจะออกสิทธิบัตรให้แก่ผู้ขอต่อไป
อายุการให้ความคุ้มครอง
– สิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีอายุ 20 ปี นับแต่วันที่ขอรับสิทธิบัตร
– สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีอายุ 10 ปี นับแต่วันที่ขอรับสิทธิบัตร