“ถ้าพูดถึงมิเตอร์แล้วนักประดิษฐ์บางท่านอาจจะนึกไปถึงมิเตอร์วัดไฟตามบ้าน ที่แขวนอยู่ตามเสาไฟฟ้ายิ่งมันหมุนเร็วเท่าไร พอบิลค่าไฟมาทีไรก็จะเป็นลมทุกทีไป ส่วนนักประดิษฐ์ที่ต้องมีการคลุกคลี เกี่ยวกับทางด้านไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์แล้วจะรู้จัก และคุ้นเคย
กับการใช้งานมิเตอร์ชนิดต่างๆ เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
ดังนั้นในบทความนี้จึงจะมา และนำให้นักประดิษฐ์แต่ละท่านได้รู้จักกับมิเตอร์ชนิดต่างๆ รวมทั้งได้รู้จักวิธีการใช้งาน เพื่อที่ว่าจะได้นำมันไปใช้งาน ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสิ่งประดิษฐ์ที่ท่านประดิษฐ์อยู่ คราวนี้เราก็มาทำความรู้จักกับมิเตอร์ชนิดต่าง ๆ กันเลย”
โวลต์มิเตอร์ (Voltmeter)
มิเตอร์ชนิดนี้จะมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันโดยแบ่งตามลักษณะที่นำไปใช้ ได้แก่โวลต์มิเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (DC Voltmeter) ใช้สำหรับวัดแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) โดยส่วนใหญ่แล้ว ย่านการวัดของมิเตอร์ จะสามารถวัดได้ตั้งแต่เป็นมิลลิโวลต์ (mV) ไปจนถึงหลายหมื่นโวลต์ และโวลต์มิเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Voltmeter) ใช้สำหรับวัดกระแสไฟฟ้าสลับ (Alternating Current) ย่านการวัดของมิเตอร์จะเหมือนกับโวลต์มิเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง การใช้งานของมิเตอร์ทั้ง 2 ชนิดนี้จะมีลักษณะที่คล้ายกัน นั่นก็คือ เวลาที่นำโวลต์มิเตอร์ไปวัดแรงดันไฟฟ้า (Voltage) ให้ นำหัววัด ไปวัดคร่อม ตรงจุดที่เราต้องการวัด ข้อควรระวังในการใช้โวลต์มิเตอร์กระแสตรงจะอยู่ที่รเจะต้องระมัดระวังเรื่อง ของขั้วไฟฟ้า และควรจะทำการปรับย่านวัดให้สูงไว้ก่อนแล้วจึงค่อยปรับลดลงมา ให้อ่านง่ายขึ้น เพราะมิฉะนั้นอาจจะทำให้ตัวมิเตอร์เกิดความเสียหายได้
แอมมิเตอร์ (Ammeter)
แอมป์มิเตอร์ชนิดนี้จะมีอยู่ 2 ชนิด อันได้แก่แอมป์มิเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (DC Amp meter) ใช้สำหรับวัดกระแสไฟฟ้ากระแสตรง (DCAmpere) โดยส่วนใหญ่ย่านการวัดของมิเตอร์ชนิดนี้ จะสามารถวัดได้ตั้งแต่ เป็นไมโครแอมป์ ไปจนถึงหลายร้อยแอมป์ และแอมป์มิเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Amp meter) ใช้สำหรับวัดกระแสไฟฟ้ากระแสสลับ (DCAmpere) ย่านการวัดจะเหมือนกับแอมป์มิเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง ลักษณะการใช้งานของแอมป์มิเตอร์ ก็คือเวลานำแอมป์มิเตอร์ไปวัดกระแสไฟฟ้า (Ampere) ไป ต่ออนุกรม กับจุดที่เราต้องการวัด ข้อควรระวังในการใช้แอมป์มิเตอร์ กระแสตรงจะต้องคำนึงถึงขั้วไฟฟ้า และควรจะทำการปรับย่านวัดให้สูงไว้ก่อนแล้วจึงปรับลดลงมาให้อ่านง่ายขึ้น เพราะมิฉะนั้นจะทำให้มิเตอร์ เกิดความเสียหายอันเกิดจากการกลับขั้วได้
วัตต์มิเตอร์ (Wattmeter)
วัตต์มิเตอร์มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน โดยส่วนใหญ่แล้วเราจะพบเห็นได้ง่ายตามเสาไฟฟ้าและติดอยู่ที่หน้าบ้านของเรา เอง เราจะเรียกวัตต์มิเตอร์ชนิดนี้ว่า “กิโลวัตต์-เอาร์มิเตอร์” (Kilowatt-Hour Meter) มิเตอร์ ชนิดนี้โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีทั้งแบบ เป็นจานหมุนซึ่งใช้งานตามบ้านทั่วๆ ไป และอีกแบบหนึ่ง จะเป็นลักษณะของตัวเลขดิจิตอลซึ่งใช้ตามโรงงานอุตสาหกรรมหรือตามสถานที่ที่ มีการใช้ปริมาณสูง ๆ มิเตอร์ชนิดนี้จะใช้สำหรับวัดปริมาณกำลังไฟฟ้า (Watt) โดยจะสามารถใช้วัดได้ทั้งไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับ
โอห์มมิเตอร์ (Ohmmeter)
มิเตอร์ชนิดนี้มีไว้สำหรับวัดค่าความต้านทาน ของวัสดุที่มีความต้านทานอยู่ภายใน เช่น ตัวต้านทาน (Resistor) เป็น ต้น โดยภายในของโอห์มมิเตอร์จะมีแบตเตอรี่ เพื่อให้ตัวมิเตอร์สามารถอ่านค่าความต้านทาน ได้โดยตรงโดยไม่ต้องอาศัยแหล่งจ่ายไฟจากภายนอกเลย ก่อนที่จะนำโอห์มมิเตอร์ไปวัดความต้านทานนั้น จะต้องทำการปรับตั้งค่าความต้านทานที่ใช้ควบคุมโอห์มมิเตอร์จนกระทั่งเข็ม หรือตัวเลขชี้ที่ศูนย์โอห์ม(Adjust Zero Ohm) การ ปรับตั้งค่าก็เพียงแต่นำสายวัดของโอห์มมิเตอร์ก็คือในขณะทำงานทำการวัดค่า ความต้านทานจะต้องไม่มีแหล่งจ่ายไฟจากภายนอกเพราะจะทำให้เข็มหรือตัวเลข ดิจิตอลเกิดการเสียหาย
มัลติมิเตอร์ (Multimeter)
มัลติมิเตอร์ถือได้ว่าเป็นที่นิยมกันอย่างมากเพราะภายในตัวมิเตอร์ได้ทำ การรวมเอามิเตอร์แบบต่างๆ มารวมไว้ในตัวเดียวกัน เช่น โวลต์มิเตอร์,แอมมิเตอร์ และโอห์มมิเตอร์ เป็นต้น ทำให้เกิดความสะดวก ในการใช้งานจริงตามพื้นที่ต่างๆ ลกษณะการใช้งาน ก็เพียงแต่ทำการปรับย่านวัดให้ตรงกับสิ่งสิ่งที่เราต้องการจะวัด แล้วจึงจะทำการวัดตามแบบของมิเตอร์ชนิดนั้นๆ ต่อไป
เทอร์โมมิเตอร์ (Thermometer)
เมื่อกล่าวถึงเทอร์โมมิเตอร์แล้ว ทุกท่านก็จงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี ในนามของ “ปรอทวัดไข้” เพราะเคยได้สัมผัสกันมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ก็เคยใช้ทั้งนั้น แต่จริง ๆแล้วเทอร์โมมิเตอร์นั้นถือได้ว่ามีบทบาทเป็นอย่างมากสำหรับทุกวงการเลยที เดียว ไม่ว่าจะเป็นวงการแพทย์, เกษตรกรรม, อุตสาหกรรม และไม่เว้นแม้แต่ในชีวิตประจำวันของเรา ๆ ท่านๆก็ล้วนแต่ต้องพึ่งเจ้าเทอร์โมมิเตอร์ด้วยกันทั้งนั้น เทอร์โมมิเตอร์มีอยู่หลายแบบด้วยกัน ได้แก่ แบบเข็ม, แบบใช้สารปรอท และแบบเป็นตัวเลข ดิจิตอล เป็นต้น
ออสซิสโลสโคป (Oscilloscope)
ออสซิสโลสโคป ถือได้ว่าเป็นมิเตอร์อีกชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกันกับมิเตอร์แบบอื่น ๆ แต่ลักษณะภายนอกของออสซิสโลสโคป จะมีลักษณะเหมือนกับหน้าจอของเครื่องรับโทรทัศน์ขนาดเล็ก พร้อมกับมีปุ่มต่างๆ ไว้สำหรับปรับตั้งค่าให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการวัด โดยส่วนใหญ่ออสซิสโลสโคป จะถูกนำมาใช้งานที่เกี่ยวข้องกับ ทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นจำนวนมาก เพราะตัวเครื่องจะแสดงลักษณะเป็นคลื่นทางไฟฟ้า ทำให้บรรดาช่างและวิศวกรสามารถที่จะวิเคราะห์รูปคลื่น เพื่อนำไปออกแบบวงจร หรือวิเคราะห์ อาการเสียของอุปกรณ์ไฟฟ้าได้
นี่เป็นเพียงตัวอย่างของมิเตอร์ชนิดต่าง ๆ ที่เราได้แนะนำให้ได้รู้จักกัน แต่ความเป็นจริงแล้ว ยังมีมิเตอร์อีกหลายชนิด เช่น มิเตอร์วัดค่าคาปาซิสแตนซ์, มิเตอร์ วัดค่า อินดักแตนซ์ เป็นต้น สำหรับท่านที่ต้องการนำมิเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานนั้น จะต้องทำการศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของมิเตอร์แต่ละตัวเสียก่อน เพื่อที่จะได้ประหยัดทั้งเงินและเวลาในการปฏิบัติงานจริง แล้วในตอนหน้าเราค่อยมาติดตามถึง เครื่องมือชิ้นต่อไปกันครับ สำหรับในตอนนี้เนื้อที่หมด หรือเนื้อหาหมดล่ะจ๊ะ อิอิ สวัสดีครับ